หมวดหมู่ : Casio G-Shock ,  GX-56 ,  Product ,  Casio Limited Model ,  Casio G-Shock Limited Model , 
Share
Casio G-Shock นาฬิกาข้อมือผู้ชาย สายเรซิ่น รุ่น GX-56SLG-1 DAIKOKUTEN SHICHI FUKU JIN LIMITED EDITION - สีดำ
คุณสมบัติ
G-SHOCK แบรนด์นาฬิกาที่ผลักดันมาตรฐานความแข็งแกร่งของอุปกรณ์บอกเวลาอย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่ปี 1983 มีความภาคภูมิใจที่จะนำเสนอรุ่น SHICHI-FUKU-JIN (เทพเจ้าแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด) ซึ่งประกอบไปด้วยนาฬิการุ่นพิเศษมากมาย
รุ่น Daikokuten ของทั้งเจ็ดรุ่นในซีรีส์นี้ได้รับการพัฒนาต่อมาจาก GX-56 ที่ได้รับการออกแบบและปรับแต่งมาเพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทกในทุกทิศทาง กรอบยูรีเทนสองชั้นผสมผสานกับตัวป้องกันภายในเพื่อให้ได้โครงสร้างกันกระแทกในระดับสุดยอด ตัวป้องกันภายในยังมี αGEL ที่ 3, 6, 9, และ 12 นาฬิกา เพื่อความทนทานต่อแรงกระแทกที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร โครงสร้างนี้รับรองได้ว่าแรงกระแทกจะถูกบล็อกไว้ที่ชั้นที่ซ้อนกันอยู่หลายชั้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าแรงกระแทกจะส่งผ่านมาถึงตัวเรือน ก็ไม่มีทางที่จะเข้าไปถึงตัวโมดูลได้อย่างเด็ดขาด
ดีไซน์ของรุ่นนี้มีความทนทานและดูห้าวหาญ ให้รูปลักษณ์ที่ดูทรงพลัง สีดำที่เรียบง่ายได้รับการตกแต่งด้วยการเน้นสีกากีที่ช่วยเน้นย้ำถึงรูปลักษณ์อันทรงพลัง ส่วนสายตกแต่งด้วย อุจิเดะ โนะ โคสึจิ (ค้อนแห่งโชคลาภ) และหนู ในขณะที่ห่วงรัดสายพิมพ์ด้วยภาพ โกบัง (เหรียญทองรูปวงรี) ซึ่งเป็นภาพแทนของเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง
ในส่วนของฟังก์ชัน รุ่นนี้โดดเด่นด้วยระบบพลังงาน Tough Solar และคุณสมบัติและฟังก์ชันอันน่าทึ่งอีกมากมายที่มีประโยชน์ต่อการใช้งาน
การเปิดแสงที่หน้าจอจะทำให้ตัวอักษร O ของชื่อ G-SHOCK ลอยเด่นขึ้นมาในแสงเรืองรองที่พื้นหลัง แต่ละรุ่นของซีรีส์เทพเจ้าโชคลาภทั้งเจ็ด (Seven Lucky Gods) นี้จะปรากฏตัวอักษรที่ต่างกันออกไป โดยเมื่อนำมารวมกันทุกรุ่นจะสามารถสะกดได้เป็นคำว่า G-SHOCK
จุดเริ่มต้นของเทพเจ้าโชคลาภ
ตำนานของเทพเจ้าโชคลาภเป็นเรื่องเล่าที่ผสมผสานศาสนาของญี่ปุ่นเข้ากับพระพุทธศาสนาและความเชื่อพื้นถิ่นของญี่ปุ่นเอง บรรดาเทพเจ้าประกอบไปด้วยเทพเจ้าทั้งหมดเจ็ดองค์ อันมีนามว่าเอบิซุ โฮเทย์ เบ็นไซเทน บิฉะมงเท็น ไดโกะกุเท็น จุโรจิน และฟุคุโระกุจู เทพเจ้าเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากเทพเจ้าโบราณในด้านโชคลาภในศาสนาฮินดู พุทธ เต๋า ชินโต และอีกหลายแหล่งที่มา หากอ้างอิงจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Humane King State-Protection Perfection of Wisdom Sutra) การนับถือเทพเจ้าเหล่านี้จะทำให้รอดพ้นโชคร้ายและได้รับพรจากโชคลาภทั้งเจ็ด ความเชื่อนี้เกิดขึ้นในสมัยสิ้นสุดยุคมูโรมาจิ (Muromachi) ของญี่ปุ่น และเป็นที่รู้จักกันในบรรดาผู้คนทั่วไปในสมัยเอโดะ (Edo) และได้รับการสืบทอดความเชื่อต่อกันมาจวบจนสมัยใหม่
* โชคร้ายทั้งเจ็ด: ความผิดเพี้ยนของพระอาทิตย์และพระจันทร์ ความผิดเพี้ยนของโลก วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัย ภัยแล้ง โจรกรรม โชคลาภทั้งเจ็ด: อายุยืนยาว ความมั่งคั่ง ความนิยม ความซื่อสัตย์ ความมีอิทธิพล ความรัก ความนับถือ และความอุดมสมบูรณ์
DAIKOKUTEN
ไดโคคุเท็น (Daikokuten) เป็นหนึ่งในปางของพระศิวะแห่งศาสนาฮินดู และในยุคเอโดะ ก็ได้รวมกับโอคุนินูชิ โนะ มิโคโตะ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อของศาสนาพุทธและชินโต เขาแบกกระเป๋าใบใหญ่อยู่บนหลัง ในมือถือค้อนแห่งโชคลาภ และสวมฮู้ดอยู่บนศีรษะ ซึ่งรูปลักษณ์ดังกล่าวของเขาเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป เขาได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางให้เป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ผู้ดูแลพื้นดินและอาหาร
ข้อมูลจำเพาะ